ได้รับอนุมัติจัดทำแผนปฏิบัติการวิจัยผ่านคณะกรรมการสภาวิทยาเขตนครราชสีมาเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2566
แผนปฏิบัติการด้านการวิจัยระยะ 5 ปี ( พ.ศ. 2566 – 2570)และประจำปีงบประมาณ 2567
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยวิทยาเขตนครราชสีมาได้รับการอนุมัติเห็นชอบจากคณะกรรมการสภาวิทยาเขตนครราชสีมาเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2566
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนางานวิจัยของคณาจารย์และบุคลากร ไม่ว่าจะเป็นการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่การวิจัยและพัฒนาหรือสร้างรูปแบบการวิจัยที่มีประสิทธิผล การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน โดยใช้วิธีการส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างงานวิจัยและนวัตกรรมของคณาจารย์และบุคลากร เพื่อให้เกิดผลงานวิจัยที่มีคุณค่าต่อชุมชน สังคมและประเทศชาติได้ถูกเผยแพร่ต่อสาธารณะซึ่งจะก่อให้เกิดการนาผลงานวิจัยไปใช้ในสถานการณ์จริง
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา จึงได้กำหนดกรอบในการจัดทำแผนแผนปฏิบัติการด้านวิจัย ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 -2570) และประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ตามยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างผลงานวิชาการสู่การยกระดับภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน โดยตั้งอยู่บนหลักการที่จะพัฒนามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา ไปสู่การเป็นหน่วยงานที่มีคุณภาพด้วยกระบวนการพัฒนาผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์สู่การตีพิมพ์ เผยแพร่ในระดับชาติหรือนานาชาติตามเกณฑ์มาตรฐานอุดมศึกษา มีงานวิจัยที่ตอบสนองต่อความต้องการของแหล่งทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาศักยภาพของคณาจารย์และบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์งานวิจัยเพื่อนำมาใช้ในยกระดับคุณภาพการศึกษา คุณภาพของท้องถิ่น สังคมและประเทศชาติ สำหรับแผนปฏิบัติการด้านการวิจัย สามารถกาหนดวัตถุประสงค์ของแผน ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย ดังนี้
วัตถุประสงค์ของแผนปฏิบัติการด้านการวิจัย
1. เพื่อให้ผลงานวิจัยสามารถบูรณาการเข้ากับการจัดการเรียนการสอนและบริการวิชาการ
2. เพื่อยกระดับคุณภาพงานวิจัยให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ และนำไปสู่การใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม
ตัวชี้วัดความสำเร็จและค่าเป้าหมาย
1. ร้อยละของผลงานวิจัยที่บูรณาการเข้ากับการเรียนการสอน และการบริการวิชาการ (ร้อยละ 50)
2. ร้อยละของผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่ตีพิมพ์ และเผยแพร่ในระดับชาติหรือนานาชาติต่ออาจารย์ประจำ (ร้อยละ > 55)
3. ร้อยละผลงานวิจัย งานนวัตกรรมหรืองานสร้างสรรค์ได้รับการนำไปใช้ประโยชน์ต่อผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ทั้งหมด (ร้อยละ 70)
โดยมีแนวทางการนำแผนสู่การปฏิบัติและการติดตามประเมินผล
การนำแผนปฏิบัติการด้านการวิจัย ประจาปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ไปสู่การปฏิบัติจำเป็นต้องให้ความสำคัญต่อการบริหารจัดการเพื่อให้เกิดการประสานความร่วมมือในการจัดทำโครงการ/กิจกรรมให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ ยุทธศาสตร์ และเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ของ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมาที่กำหนดไว้รวมทั้งมีการพัฒนาการติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งได้กำหนดวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อเสริมสร้างความรู้ และความเข้าใจร่วมกันของบุคลากรภายในหน่วยงาน ในเรื่องการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมด้านการวิจัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 เพื่อปรับกระบวนการ และกลไกการบริหารจัดการการนำแผนปฏิบัติการด้านการวิจัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. เพื่อให้มีการติดตามประเมินผลแผนปฏิบัติการด้านการวิจัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 อย่างเป็นระบบ
แนวทางการนำแผนปฏิบัติการด้านการวิจัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ไปสู่การปฏิบัติ
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว จึงกำหนดแนวทางการนำแผนปฏิบัติการด้านการวิจัย
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ไปสู่การปฏิบัติ ดังนี้
1. สร้างความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับแผนปฏิบัติการด้านการวิจัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยจัดทำแนวทางการสื่อสารและประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจในภารกิจ เป้าหมายและโครงการ/กิจกรรมให้กับบุคลากรภายในหน่วยงาน ได้ทราบถึงบทบาทความรับผิดชอบของตนที่จะสนับสนุนการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านการวิจัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ให้เกิดผลในทางปฏิบัติ
2. ผลักดันระบบงบประมาณ และการพัฒนาสมรรถภาพบุคลากรให้สอดคล้องกับแนวทางที่กำหนด
3. ส่งเสริมการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับแผนที่กำหนดไว้ และนำไปสู่การพิจารณาการสนับสนุนทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. สร้างกลไกประสานงานภายในกับหน่วยงานให้ขับเคลื่อนโครงการ/กิจกรรมให้มีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง และมีการแลกเปลี่ยนข้อมูล จัดเก็บ เผยแพร่ และถ่ายทอดความรู้ ซึ่งกันและกัน โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร พร้อมจัดทำฐานข้อมูลให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ง่าย
5. ติดตาม ตรวจสอบผลที่ได้รับจากการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมของหน่วยงานว่าสามารถตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ของแผนปฏิบัติการด้านการวิจัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 รวมทั้งสามารถประเมินผลได้อย่างเป็นรูปธรรม
การติดตามและประเมินผลแผนปฏิบัติการด้านการวิจัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
การติดตาม ประเมินผลเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะสนับสนุนให้การดำเนินงานของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา บรรลุเป้าประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการด้านการวิจัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 เพื่อให้ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานทราบถึงความสำเร็จหรือความล้มเหลวของการดำเนินงาน และนำไปสู่การปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรคให้เหมาะสมเท่าทันสถานการณ์ และสามารถบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายได้ โดยจัดทำระบบการติดตามและประเมินผล ดังนี้
1. พัฒนาองค์ความรู้และเสริมสร้างความเข้าใจเรื่องการติดตามประเมินผลและกำหนดตัวชี้วัดแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างทักษะในการติดตามประเมินผลและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม
2. พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านการวิจัยประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 อย่างต่อเนื่อง
3. กำหนดให้มีการติดตามความก้าวหน้าของแผนปฏิบัติการด้านการวิจัย ประจำปีงบประมาณพ.ศ.2567 ทุก ๆ ไตรมาส พร้อมให้ผู้รับผิดชอบในแต่ละโครงการ/กิจกรรมทำการวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจของผู้บริหาร